วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

การเข้าเรียนครั้งที่ 16
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557  เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

การเรียนการสอน
****ไม่มีการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้แจกข้อสอบ Home test ไปทำที่บ้าน และให้นำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป 

คำชี้แจง : ข้อสอบปลายภาควิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ เป็นแบบอัตนัยจำนวน 3 ข้อ 15 คะแนน

1. ให้นักศึกษาเขียนแผนผังความคิดสรุปความรู้ที่ตนเองได้รับจากวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (7คะแนน)

2. ยกตัวอย่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษมา1ประเภท โดยอธิบายตามหัวข้อดังนี้ (5คะแนน)

- ลักษณะอาการ

- บทบาทของครู

- การดูแลและการส่งเสริมพัฒนาการ

3. ให้นักศึกษาบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (3คะแนน)

- ส่งสรุปวิจัยภายในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557

- ส่งข้อสอบภายในวันที่ 27 - 28 กุมภาพันธ์ 2557 ก่อนเวลา 17.00 น.

- ทำ blogger ให้เสร็จภายในวันที่ 2 มีนาคม 2557




การเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557  เวลาเรียน 11.30น.-14.00น.

การเรียนการสอน

LD คืออะไร?
• ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทธิ์ผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง
• ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน
พบบ่อยแค่ไหน?
• ประมาณว่า 1 ใน 10 ของเด็กทั่วไปมีปัญหาการเรียนจนต้องได้รับการศึกษาพิเศษและเกือบครึ่งหนึ่งของเด็กจำนวนนี้มี LD การศึกษาของเด็กในวัยเรียนพบว่าร้อยละ 6-10 จะมี LD เด็กชายจะมีปัญหาได้บ่อยกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4:1
สาเหตุของ LD
• ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
• กรรมพันธุ์
ประเภทของ LD
• LD ด้านการเขียนและสะกดคำ
• LD ด้านการอ่าน
• LD ด้านการคำนวณ
• LD หลายๆ ด้านร่วมกัน
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การเขียน)
• ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
• เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
• เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
• เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
• เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
• เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
• จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
• สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
• เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
• เขียนไม่ตรงบันทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
• ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท (การอ่าน)
• อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
• อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
• เดาคำเวลาอ่าน
• อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
• อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
• ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
• ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
• เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD แต่ละประเภท
ประเภท (การคำนวณ)
• ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
• นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
• คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
• จำสูตรคูณไม่ได้
• เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
• ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
• ตีโจทย์เลขไม่ออก
• คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
• ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก LD
• หลีกเลี่ยงการอ่านการเขียน
• ทำสมุดการบ้านหายบ่อยๆ
• ต่อต้านแบบดื้อเงียบ
• ดูเหมือนเด็กเกียจคร้าน
• ไม่มีสมาธิในการเรียนทำงานช้าทำงานไม่เสร็จในชั้นเรียน
• ทำงานสะเพร่า
• ความจำไม่ดีได้หน้าลืมหลัง
• ขาดความมั่นใจกลัวครูดุกลัวเพื่อนล้อ
• ไม่อยากมาโรงเรียนโทษครูว่าสอนไม่ดีเพื่อนแกล้ง
• เบื่อหน่ายท้อแท้กับการเรียน
• รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งด้อยกว่าคนอื่น
• ไม่มั่นใจในตัวเอง
• มักตอบคำถามว่า“ทำไม่ได้“ไม่รู้”
• อารมณ์หงุดหงิดขึ้นลงง่ายคับข้องใจง่าย
• ก้าวร้าวกับเพื่อนครูพ่อแม่(ที่จ้ำจี้จ้ำไช)

เรียบเรียงโดย
ผศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลศิริราช


การเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557  เวลา 11.30น.-14.00น.

การเรียน การสอน
Dow's Syndrome
การดูเเล
- รักษาตามอาการ
- เเก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
- ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวันเเละใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
- เน้นการดูเเลแบบองค์รวม Holistic approach
การดูเเลเริ่มจาก
1.ด้านสุขภาพอนามัย บิดามารดาพาบุตรไปพบเเพทย์ตั้งเเต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
2.เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
3.ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ

- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำเเผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะการดำรงชีวิตประจำวัน
- การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ โดยการฝึกชีพ
การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนเเรก
1. ท่านอนตะเเคงข้าง ขาไขว้มือเหยียดตรง
2. การอาบน้ำเเต่ละครั้งต้องมีอุปกรณ์เยอะ เพื่อเป็นการให้เด็กได้สัมผัสอย่างหลากหลาย
การปฏิบัติของบิดา มารดา
- ยอมรับความจริง
- เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
- ให้ความรักเเละความอบอุ่น
- การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก เเละเต้านม
- การคุมกำเนิด การทำหมัน
- การสอนเรื่องเพศศึกษา
- ตรวจโรคหัวใจ
- การส่งเสริมพัฒนาการ

พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ เเละภาษา
- สามารถปรับตัวเเละช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
- สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
- ลดปัญญาพฤติกรรม
- คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถเเก้ไขปัญหาเเละทำงานได้ดีขึ้น

Autistic
ส่งเสริมความเข้มเเข็งครอบครัว
- ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูเเลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
ส่งเสริมความสามารถเด็ก
- การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
- ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
-การปรับพฤติกรรมเเละยึดทักษะทางสังคม
เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมเเละลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การให้เเรงเสริม ให้รางวัล เเตะไหล่
การฝึกพูด- โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาเเละการสื่อความหมายล่าช้า
- ถ้าเด็กพูดได้เเล้ว โอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
- ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
- ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความต้องการได้
- การสื่อความหมายทดเเทน (AAC) 

 การสื่อความหมายทดเเทน (AAC)
( Augmentative and Alternative Communication;AAC)

- การรับรู้ผ่านการมอง( Visual strategies) เช่น ป้ายบอก
- โปรเเกรมเเลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร(Picture Exchange Communication System ; PECS) ใช้มากกับเด็ก
- เครื่องโอภา(Communication Devices) เป็นคล้ายเครื่องอัดเสียง
- โปรเเกรมปราศรัย พิมพ์เเล้วมีเสียง

การส่งเสริมพัฒนาการ
ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
เน้นในเรื่องการมองหน้าสบตา การมีสมธิ การฟังเเละทำตามคำสั่ง
ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่่อสาร สังคม เเละการปรับพฤติกรรม
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
- เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร เเละทักษะทางความคิด
- เเผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP)
- โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน (รับเฉพาะเด็กออทิสติก) 


การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
-ทักษะในชีวิตประจำวัน เเละการฝึกฝนทักษะทางสังคม
-ให้เด็กสามารถด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
การรักษาด้วยยา
- Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง ซน หุนหันพลันเเล่น ขาดสมาธ
-Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันเเล่น พฤติกรรมซ้ำๆพฤติกรรมก้าวร้าวรุนเเรง
- ยาในกลุ่ม Anticonuulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
- การสื่อความหมายทดเเทน AAC
-ศิลปกรรมบำบัด Art Therapy
- ดนตรีบำบัด Music Therapy
-การฝังเข็ม Acupuncture
-การบำบัดด้วยสัตว์ Animal Therapy พ่อ แม่ต้องคำนึง






การเข้าเรียนครั้งที่ 13



วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 11.30น.-14.00น.

****ไม่มีการเรียน การสอน
เพราะว่าวันนี้มีการสอบในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ



การเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 11.30น.-14.00น.


การเรียนการสอน


พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น โดยทั่วไป พัฒนาการปกติ
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน ที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ โดยความล่าช้านั้นปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยทารกและวัยเด็กตอนต้น พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้านและพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผล ให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
1. ปัจจัยทางด้านชีวภาพ ลักษณะทางพันธุกรรม
2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
3.ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
4. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด

สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท
3. การติดเชื้อ
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
6. สารเคมี
6.1 ตะกั่ว
6.2 แอลกอฮอล์ Fetal alcohol syndrome.FAS
6.3 นิโคติน
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร


การเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 14 เดือนมกราคม พ.ศ.2557 เวลา 11.30น.-14.00น

****ไม่มีการเรียน การสอน เพราะมีเหตุการณ์ไม่ปกติทางการเมือง


การเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 7 เดือนมกราคม พ.ศ.2557  เวลา 11.30น.-14.00น.

การเรียนการสอน


นำเสนอประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

กลุ่มที่1 Cerebral Palsy C.P
กลุ่มที่2 Children with Speech and Learning Disabilities L.D
กลุ่มที่3 Children with Attention Deficit and Hyperactivity 

กลุ่มที่1 Cerebral Palsy C.P
สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น
สาเหตุ
อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ประมาณร้อยละ 25 หาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ แต่ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในช่วงระยะเวลาที่มีการเจริญเติบโตของสมอง คือ ตั้งแต่ระยะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 7-8 ปี
ลักษณะของเด็กสมองพิการ
เด็กสมองพิการ มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะอ่อนปวกเปียก และจะค่อยๆ เกร็งมากขึ้นทีละน้อย ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของเด็กสมองพิการ ได้แก่ กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็ง พบความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้า เก้งก้าง และมีอาการเกร็ง กลุ่มนี้พบมากที่สุด
บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวได้ยาก แขน ขาไม่สัมพันธ์กัน หันออกไปตามทิศต่างๆ ส่วนชนิดที่มีอาการสั่น เดินเซ ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุด
ในกรณีที่เป็นแบบผสม จะพบลักษณะร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิด เช่น มีอาการเกร็ง ร่วมกับมีอาการเคลื่อนไหวของแขนและขาไม่สัมพันธ์กัน หันไปคนละทิศ หรือมีอาการเกร็งและควบคุมการทรงตัวไม่ได้ มีอาการสั่น เดินเซ เป็นต้น
อาการผิดปกติของเด็กโรคสมองพิการ
ไม่สามารถตั้งคลานได้
มีอาการเกร็งของแขนและขาทั้งสองข้าง
มีอาการเกร็งของแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่ง
เมื่อฉุดเด็กนั่ง คอเด็กจะตกไปข้างหลัง
มีการกำมือตลอดเวลา แม้อายุมากขึ้น
ขณะนั่งและยืน เด็กไม่สามารถวางเท้าราบกับพื้นได้
เด็กอ่อนปวกเปียกขณะถูกอุ้ม เด็กไม่สามารถทรงตัวได้
โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง

กลุ่มที่2 Children with Learning Disabilities L.D
LD คืออะไร?
ความบกพร่องของกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ความสัมฤทผลด้านการเรียนต่ำกว่าความเป็นจริง ความบกพร่องนี้อาจเกิดขึ้นเฉพาะความสามารถด้าน ใดด้านหนึ่ง เช่น การอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณ หรือหลายๆด้านร่วมกัน
สาเหตุของ LD
ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้ (เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
กรรมพันธุ์
ปัญหาการเรียน
ปัญหาการพูด มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง
ปัญหาการเขียน มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง อ่านตัวอักษรสลับกัน
ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
วิธีการช่วยเหลือเด็ก
สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มีปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room
สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็นรายๆไป เขียนแผนการเรียรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจและชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับเสียงแต่การรับภาพปกติ สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหาในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็ทอ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น

กลุ่มที่3 Children with Attention Deficit and Hyperactivity
โรคสมาธิสั้น (ADHD) ย่อมาจากคำว่า Attention Deficit Hyperactivity Disorder
เป็นโรคที่พบได้ บ่อยในวัยเด็ก โดยที่เด็กจะไม่สามารถควบคุมสมาธิและการเคลื่อนไหวของตนเอง
ได้ จึงก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ผลการเรียนตกต่ำ แม้ระดับสติปัญญาจะปกติ มีปัญหาด้าน
ความสัมพันธ์กับผู้อื่น ถึงแม้จะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ยังพบว่าหนึ่งในสามของเด็กยังคงมีอาการอยู่บ้างหรือ
บางคนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังอาจมีอาการเต็มรูปแบบอีกด้วย ซึ่งยังเพิ่มโอกาสการเกิดพยาธิ สภาพทางจิต
อื่นๆ ตามมา
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
1. Inattentiveness คือ มีช่วงสมาธิสั้นกว่าปกติและมักจะวอกแวกง่าย (distractibility)
2. Hyperactivity คือ มีลักษณะอยู่ไม่นิ่ง อยู่ไม่สุข ซุกซนผิดปกติ
3. Impulsiveness คือ มีลักษณะหุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจในการทำอะไร
ต่างๆ
สาเหตุของโรคสมาธิสั้น
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ใครทราบว่าเกิดจากอะไร จากการศึกษาการทำงานของสมองของคนเป็นโรคสมาธิสั้นพบว่าสมองบางส่วนมีการทำงานน้อยกว่าปกติ และยังพบอีกว่าแม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุราหรือใช้ยาเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีผลทำให้สมองเด็กมีปัญหาในการพัฒนา นอกจากนั้นยังพบว่าสารตะกั่วในสิ่งแวดล้อมก็น่าจะมีส่วนทำให้เกิดโรคนี้